Low Cost หรือ Full Service หลายท่านคงสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไร อย่างที่รู้กันก็คือราคานั่นแหละ แต่ก็ไม่ใช่ว่า Full Service จะแพงกว่าเสมอไป ก่อนจะจองเราควรเช็คราคาตอนจบให้ดีก่อน เพราะในความเป็นจริงนอกจากราคาที่ต่างกัน ยังมีบริการที่ต่างกันอีกด้วย ในบทความนี้พี่เนียนจะอธิบายความต่างของ Low Cost กับ Full Service

พี่เนียนได้มีประสบการณ์เดินทางโดยสายการบินทั้ง Low Cost และ Full Service มาแล้ว ขอแสดงข้อเปรียบเทียบตามตารางด้านล่างนี้


หลายท่านอาจสงสัยว่า จากตารางเปรียบเทียบสายการบิน Low Cost และ Full Service ของพี่เนียนสามารถบอกอะไรได้บ้าง ตารางเปรียบเทียบสายการบิน Low Cost และ Full Service ที่พี่เนียนทำให้ดู ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่าแม้ Low Cost จะถูกว่ามาก แต่ก็อาจจะมีกรณีที่ทำให้ต้องจ่ายเพิ่มจนเกือบเท่า Full Service อย่างเช่น เรื่องที่นั่งหากว่าเราเดินทางหลายคน ก็อาจจะต้องซื้อที่นั่งเพิ่มเพื่อเลือกเอาที่นั่งติดกัน เพื่อความสะดวกในการดูแลกันเอง อีกตัวอย่างก็เช่นเรื่องกระเป๋าเดินทางใบใหญ่สำหรับขาช้อป เพราะกระเป๋าที่สามารถนำขึ้นเครื่องบินสายการบิน Low Cost ได้ก็คือ Carry-On ไม่เกิน 7 กิโลกรัม สำหรับใบใหญ่กว่า Carry-On ก็ต้องซื้อน้ำหนักเพิ่มแล้วโหลดใต้เครื่อง ซึ่งก็ต้องซื้อน้ำหนักทั้ง 2 ขาคือ ไป-กลับ ก็ขอให้เปรียบเทียบส่วนต่างราคาตอนจบ กับผลประโยชน์ที่เราจะได้รับของราคานั้นๆ และพี่เนียนไม่ขอแนะนำ Full Service หากต้องการบินด่วนช่วงพีคใน 7-14 วัน เพราะราคาจะต่างจาก Low Cost ค่อนข้างสูง

สายการบิน Low Cost เหมาะกับใคร (เพื่อให้ได้ราคาดีสุด ประหยัดสุด)

  • ผู้ที่เดินทางคนเดียว (เพราะไม่ต้องห่วงเรื่องที่นั่งติดกัน)
  • ผู้ที่ไม่สนใจ บริการของสนามบิน (ความสะดวกสบายน้อย)
  • ผู้ที่ไม่สนใจ เรื่องที่นั่ง และการย้ายที่นั่ง
  • ผู้ที่ไม่สนใจ ความบันเทิงจากสายการบิน
  • ผู้ที่ไม่สนใจ เรื่องอาหารอุ่นร้อน และเครื่องดื่ม บนเครื่องบิน
  • ผู้ที่ไม่สนใจ ช้อปสินค้าครั้งละมากๆ เพื่อการค้า

สายการบิน Full Service เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่เดินทางเป็นครอบครัว (เพราะสามารถเลือกที่นั่งติดกันฟรี)
  • ผู้ที่ต้องการ บริการจากสนามบิน (มีความสะดวกสบายสูง)
  • ผู้ที่ต้องการ ความบันเทิงจากสายการบิน
  • ผู้ที่ต้องการ เลือกที่นั่ง และย้ายไปที่นั่งว่างฟรี
  • ผู้ที่ต้องการ อาหารและเครื่องดื่มเต็มอิ่ม บนเครื่องบิน
  • ผู้ที่ต้องการ ขนสินค้ากลับมาขาย หรือรับฝากซื้อของทีละมากๆ

ในปี 2019 ก็เป็นปีที่มีเที่ยวบินตรงไปประเทศญี่ปุ่นแบบไม่แวะพักในหลายสายการบิน และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่สำหรับท่านที่ต้องการประหยัดแต่อยากได้บริการแบบ Full Service ก็มีตัวเลือกอีกแบบ คือการบิน Full Service แบบเที่ยวบินที่มีการแวะพัก แต่ก็จะต้องแลกมาด้วยการเสียเวลารอต่อเครื่อง และความยุ่งยากขณะเปลี่ยนเครื่อง เป็นตัวเลือกที่เหมาะกับ ผู้ที่ต้องการประหยัด ได้บริการดี และไม่สนใจเรื่องเวลาเดินทาง

และก่อนจะจบบทความนี้ พี่เนียนอยากจะบอกว่านอกจากความแตกต่างที่ได้กล่าวไปแล้ว ขอให้ทุกท่านอย่าลืมเช็คข้อมูลเที่ยวบินของตนให้ดี ว่าในการลงจอดและออกบินในประเทศญี่ปุ่นต้องไปที่สนามบินไหนอาคารไหนเพราะอย่าง Narita Airport ก็มีอาคารสำหรับผู้โดยสารอยู่ 2 อาคาร ซึ่งในแต่ละอาคารจะมีสินค้าและร้านค้าให้บริการไม่เหมือนกัน ทั้งนอกและในโซน Duty Free สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://otatour.blogspot.com/2019/04/narita-airport-all-terminal.html

สำหรับท่านที่สนใจติดตามรับข้อมูลการเที่ยวประเทศญี่ปุ่นแบบโอตาคุกับเรา สามารถกดติดตามได้ที่
Facebook Page: https://www.facebook.com/otatour.jp/
อย่าลืมกด See First เพื่อเห็นโพสต์ก่อนใคร

Nyanto@otatour.blogspot.com